วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ความรู้เบื้องต้นในการยู่ค่ายพักแรม


การเดินทางไกลของลูกเสือ

การเดินทางไกล
          การเดินทางไกล หมายถึง การเดินทางของลูกเสือ-เนตรนารีสามัญจากที่ตั้งหรือโรงเรียนไปยังจุดที่กำหนด โดยมีระยะทางที่กำหนดให้ การเดินทางไกลอาจจะเป็นการเดินทางด้วยเท้า จักรยานหรือเรือพายก็ได้ การเดินทางจะเดินทางคนเดียวหรือเป็นหมู่คณะก็ได้
          การเดินทางไกลของลูกเสือ-เนตรนารีเอก จะต้องเดินทางไกลด้วยเท้าหรือทางเรือด้วยความสามารถของตนเอง เป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร ลูกเสือ-เนตรนารีสามัญจึงต้องเลือกเดินทางไกลด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง การเดินทางไกลระยะทาง 20 กิโลเมตรนี้เป็นระยะทางที่ไกลพอสมควรสำหรับลูกเสือ-เนตรนารีสามัญ จึงจำเป็นจะต้องเตรียมตัวในการเดินทงให้พร้อม
การเตรียมอุปกรณ์สำหรับเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม
          ในการเดินทางไกลลูกเสือ-เนตรนารีสามัญจะต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่เครื่องใช้ประจำตัว เครื่องใช้ประจำหมู่ เครื่องใช้ในการฝึก รายการอาหารและบรรจุสิ่งของเหล่านี้ลงในเครื่องหลังหรือกระเป๋าให้เรียบร้อย
          เครื่องใช้ประจำตัว
          เครื่องใช้ประจำตัวที่ลูกเสือ-เนตรนารีสามัญควรนำไปในการเดินทางไกล มีดังนี้
1. กระติกน้ำ ล้างให้สะอาด ใส่น้ำให้เต็ม
2. เครื่องใช้ประจำตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า สบู่ แปรงสีฟัน เข็มเย็บผ้า ด้ายเย็บผ้า เข็มซ่อนปลาย เชือกผูกเงือน เสื้อ กางเกง ผ้าขาวม้า รองเท้าแตะ ไฟฉาย ช้อน ส้อม และจาน เป็นต้น
3. เครื่องแบบและเครื่องประกอบเครื่องแบบ ได้แก่ เสื้อ กางเกง ผ้าพันคอก หมวก เข็มขัด รองเท้า และเครื่องหมายต่างๆ ถุงเท้าและรองเท้าต้องตรวจให้อยู่ในสภาพดี ไม่ควรใช้รองเท้าใหม่ เพราะจะกัดเท้า หากจำเป็นต้องใช้รองเท้าใหม่ ควรใช้เทียนไขถูบริเวณส้นรองเท้าบริเวณขอบด้านในก่อน จะช่วยป้องกันไม่ให้รองเท้ากัดได้
4. ไฟฉาย ช้อนส้อม จานข้าว
5. ยาประจำตัวและอุปกรณ์การปฐมพยาบาล
6. เข็มทิศ แผนที่ สมุดจดบันทึกการเดินทาง ปากกา ดินสอ
7. เครื่องนอนต่างๆ เช่น เต็นท์ ผ้าปูนอน ผ้าห่ม
8. ถ้าเดินทางไกลฤดูฝนควรมีเสื้อกันฝน
9. เตรียมเชือก เพื่อใช้ผูกรัดสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ
10. ไม้พลองหรือไม้ง่ม
11. ถ้ามีกล้องถ่ายรูปควรนำไปด้วย














การเข้าฐานของลูกเสือ


1.สะพานลิง




2.ลอกวิถีกระสุน



3.ทาร์ซานส่งข่าว



4.สะพานเชือกเส้นเดียว

5.สะพานไม้แกว่ง


วิธีการปฎิตนเมื่ออยู่ค่ายพักแรม


การกางเต็นท์และการอยู่ค่ายพักแรมพิธีเปิดกอง     เข้าแถว  -  ชักธงขึ้น  -   สวนมนต์  -   สงบนิ่ง   -   ตรวจสุขภาพ   -   แยก 

การกางเต็นท์เต็นท์หรือกระโจม  ใช้เป็นที่พักผ่อนนอนหลับ และเก็บสิ่งของของลูกเสือซึ่งมีอยู่อยู่ด้วยกันหลายชนิด  ทั้งที่นอนได้คนเดียว  นอนสองคน  หรือนอนหลายคน จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามลักษณะการกาง เช่น  เต็นท์กระแบะ   เต็นท์ชาวค่าย  เต็นท์แบบหลังคาอกไก่  เต็นท์นักสำรวจ  เป็นต้น
การเลือกเต็นท์สำหรับอยู่ค่ายพักแรมนั้น   ควรเลือกที่มีน้ำหนักเบาสามารถที่จะนำไปคนเดียวได้ หรือหมู่ลูกเสือนำไปได้

การเลือกสถานที่กางเต็นท์1. พื้นที่โล่งมีหญ้าปกคลุมบางเล็กน้อย
2. พื้นที่ราบเรียบ  หรือลาดเอียงบ้างเล็กน้อย  ไม่ขุรขระหรือมีของแหลมคม
3. ไม่เป็นแอ่ง  หรือหุบเขาซึ่งเป็นที่น้ำท่วมถึงได้ง่าย 
4. อยู่ใกล้ แหล่งน้ำสะอาดและไม่มีสัตว์เดินผ่าน
5. ไม่อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่  เพราะอาจถูกกิ่งไม้หล่นทับเมื่อมีพายุ
เต็นท์สำหรับเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม นิยมใช้เต็นท์เดี่ยว  เรียกว่ากระโจม 5 ชาย 
ส่วนประกอบของกระโจม 5 ชาย  
1. ผ้าเต็นท์สองผืน      2. เสาเต็นท์      3. เชือกดึงเสาหลักมีความยาวเส้นละ 3 เมตร         4. สมอบก  10  ตัว              
5.เชือกร้อยหูเต็นท์มีความยาว 1-1.5  ฟุต

วิธีกางเต็นท์
ก่อนกางเต็นท์เราต้องดูทิศทางลม  ถ้าเป็นฤดูหนาว  หรือฤดูฝนให้ทัน   ด้านหลังเต็นท์สู่ทิศทางลม  แต่ถ้เป็นฤดูร้อนให้หันหน้าเต็นท์สู่ทางลม  การกางเต็นท์  มีวิธีดังนี้
     1. ให้นำผ้าเต็นท์ทั้งสองผืน  ติดกระดุมเข้าด้วยกัน  (ด้านที่ติดกระดุมเป็นด้านสันหลังคา  ส่วนด้านที่มีรูตาไก่ด้านละ สามรู เป็นด้านชายด้านล่าง  ) จากนั้นนำเสาหนึ่งต้นมาเสียบที่รูหลังคาเต็นท์ ให้คนที่หนึ่งจับไว้
      2. ให้คนที่สองใช้เชือกยาว  1 เส้น ยึดจากหัวเสาไปยังสมอบกด้านหน้า  แล้วใช้เชือกสั้น2เส้น  ยึดชายเต็นท์ เข้ากับสมอบก  ให้เต็นท์กางออกเป็นรูปหน้าจั่ว
      3. ให้คนที่สองเดินอ้อมไปอีกด้านจากนั้นจึงเสียบเสาอีกต้นเข้ากับรูหลังคาเต็นท์  และจับเสาไว้แล้วจึงให้คนที่หนึ่ง นำเชือกเส้นยาวยึดจากเสาไปยังสมอบก
      4. ให้ทั้งสองคนช่วยกันใช้เชือกยึดชายเต็นท์  เมื่อกางเต็นท์เสร็จแล้ว เราต้องขุดร่องน้ำรอบเต็นท์ลึกประมาณ  16 เซนติเมตร  ให้ปลายรางน้ำหันไปทางพื้นที่ลาดต่ำ  แล้วนำดินที่ได้มากันไว้ข้างชายเต็นท์เพิ่อป้องกันน้ำซึมและสัตว์เลื้อยคลานเข้าไป

การเก็บรักษาเต็นท์และอุปกรณ์
      1. ระวังอย่าให้เต็นท์ฉีกขาด  หากขาดหรือมีรูต้องรีบปะชุนทันที
      2. ในเวาลกลางวัน  ถ้าอากาศดีต้องเปิดเต็นท์ให้โล่งเพื่อระบายอากาศ
      3. เวลาถอนสมอบกเก็บ  ให้ดึงกลับขึ้นมาจาแนวที่ตอกลงไป อย่างัด
      4. เมื่อเลิกใช้เต็นท์  ต้องพับเก็บให้เรียบร้อย  หากมีรอยสกปรกต้องรีบทำความสะอาดโดยใช้ผ้าชุบน้ำ หรือผงซักฟอกเช็ด  แล้วผึ่งแดดให้แห้ง

การอยู่ค่ายพักแรมการไปอยู่ค่ายพักแรมจะไปกันเป็นหมู่คณะโดยแต่ละกองก็จะมีผู้กำกับ  และรองผู้กำกับดูแลรับผิดชอบ  ดังนั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะดวก  ในแต่ละหมู่จึงต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในลูกเสือหนึ่งหมู่
นายหมู่จะมีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในหมู่
รองนายหมู่จะมีหน้าที่ช่วยเหลือนายหมู่เวลานายหมู่ไม่อยู่
คนดูแลงานทั่วไปจะมีหน้าที่ทำงานเบ็ดเตล็ดทั่วๆไป
พลาธิการจะมีหน้าที่ดูแลเอาใจใส่อุปกรณ์ของหมู่
คนครัวจะมีหน้าที่ประกอบอาหารสำหรับทุกคนในหมู่
ผู้ช่วยคนครัวจะมีหน้าที่ช่วยเหลือการประกอบอาหาร  ทำครัว
คนหาน้ำจะมีหน้าที่จัดหาน้ำมาใช้ภายในหมู่ให้เพียงพอ
คนหาฟืนจะมีหน้าที่หาเศษไม้กิ่งไม้  มาทำฟืนสำหรับหุ้งต้ม

อาหารที่จะเตรียมไปค่ายพักแรมนั้น  ควรเป็นอาหารที่เก็บได้นาน  ปรุงได้ง่าย  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแห้ง  เช่น ไข่เค็ม  กุนเชียง   อาหารกระป๋อง  และจะต้องมีพริก   เกลือ  น้ำตาล  เพื่อช่วยในการปรุงรสด้วย

ประโยชน์ของการอยู่ค่ายพักแรม 
1.  เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
2.  เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
3.  ได้ออกกำลังกาย  ทำให้ร่างกายแข็งแรง
4.  ได้ศึกษาประเพณีของท้องถิ่นต่างๆ
5.  ได้ศึกษาความเป็นไปของธรรมชาติ
6.  ได้ทดสอบความอดทน






วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

รวบรวมวิดีโอ

พลง..ตายก่อนน



Cristiano Ronaldo Top 50 Goals 2004-2013 




Kriss S.V CoupleBreaker ฟรุ้งฟริ้ง





ฟุตบอลฮาๆ ตลกโคตรๆ หยุดขำไม่ได้ 2015


 


5 อันดับรถสปอร์ตราคาแพงที่สุดในโลก 2014



 

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558












asean258
          อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่ 
ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง
ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต
ระหว่างสองประเทศ
          จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ  อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี   เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน
         ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ
เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน

องค์ความรู้ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) >>ไปที่ http://www.thai-aec.com/

ความเป็นมาของอาเซียน
              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok  Declaration)  หรือ  ปฏิญญาอาเซียน  (ASEAN  Declaration)  เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  2510  โดยมีประเทศสมาชิก  5  ประเทศ  ประกอบด้วย  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคม  ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไนดารุส-ซาลาม   เวียดนาม   ลาว   เมียนมาร์  และกัมพูชา  ตามลำดับ   จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน   มีสมาชิก  10  ประเทศ

“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน  ในปี 2558
              ปัจจุบัน  บริบททางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม   รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก      ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ    อาทิ    โรคระบาด    การก่อการร้าย   ยาเสพติด  การค้ามนุษย์  สิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติ  อีกทั้ง  ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง  และในเวทีระหว่างประเทศ  ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า  อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น  เข้มแข็ง  และมั่นคงยิ่งขึ้น  จึงได้ประกาศ  “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน  ฉบับที่ 2”  (Declaration  of  ASEAN  Concord  II)  ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย  3  เสาหลัก ได้แก่ 
              -  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
              -  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
              -   ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา
              ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558

ประชาคมอาเซียน คือ
              ประชาคมอาเซียน  (ASEAN  Community)  คือ  การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง  สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย  ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง  เศรษฐกิจ  และภัยคุกคามรูปแบบใหม่  โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี  สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น  และสมาชิก  ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
จุดประสงค์หลักของอาเซียน
              ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
              1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
              2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
              3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
              4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
              5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
              7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  และองค์การระหว่างประเทศ
ภาษาอาเซียน
              ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก  คือ  ภาษาอังกฤษ
คำขวัญของอาเซียน
                                                        
"หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
                                           (One Vision, One Identity, One Community)

อัตลักษณ์อาเซียน             อาเซียนจะต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนและความรู้สึกเป็นเจ้าของในหมู่ประชาชนของตน  เพื่อให้บรรลุชะตา  เป้าหมาย  และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน
สัญลักษณ์อาเซียน
              คือ   ดวงตราอาเซียนเป็น
              รูปมัดรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นวงกลม
              สีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว  และสีน้ำเงิน
              รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ  ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
              วงกลม  เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน
              ตัวอักษรคำว่า  asean  สีน้ำเงิน  อยู่ใต้ภาพรวงข้าว  แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง  สันติภพ  เอกภาพ  และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
              สีเหลือง    :   หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
              สีแดง       :    หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
              สีขาว       :    หมายถึง ความบริสุทธิ์
              สีน้ำเงิน    :    หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
ธงอาเซียน
              ธงอาเซียนเป็นธงพื้นสีน้ำเงิน  มีดวงตราอาเซียนอยู่ตรงกลาง  แสดงถึงเสถียรภาพ  สันติภาพ  ความสามัคคี  และพลวัตของอาเซียน
สีของธงประกอบด้วย  สีน้ำเงิน  สีแดง  สีขาว  และสีเหลือง  ซึ่งเป็นสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้งหมด

วันอาเซียน
              ให้วันที่  8  สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอาเซียน
เพลงประจำอาเซียน (ASEAN  Anthem)
              คือ  เพลง  ASEAN  WAY
กฎบัตรอาเซียน
              กฎบัตรอาเซียน  กำหนดให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้
              1.  เคารพเอกราช  อธิปไตย  ความเสมอภาค  บูรณภาพแห่งดินแดน  และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
              2.  ผูกพันและรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ  ความมั่นคง  และความมั่งคั่งของภูมิภาค
              3.  ไม่รุกรานหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือการกระทำอื่นใดในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
              4.  ระงับข้อพิพาทโดยสันติ
              5.  ไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
              6.  เคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง  การบ่อนทำลาย  และการบังคับจากภายนอก
              7.  ปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน
              8.  ยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม  ธรรมาภิบาล  หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
              9.  เคารพเสรีภาพพื้นฐาน  การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
              10.  ยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ    รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ  ที่  รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
              11.  ละเว้นจากการมีส่วนร่วมในการคุกคามอธิปไตย  บูรณภาพแห่งดินแดนหรือเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอาเซียน
              12. เคารพในวัฒนธรรม  ภาษา  และศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน
              13.  มีส่วนร่วมกับอาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์กับภายนอกทั้งในด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม  โดยไม่ปิดกั้นและไม่เลือกปฏิบัติ
              14. ยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียน

                                          กฎบัตรอาเซียน.....(คลิกรายละเอียดเพิ่มเติม)

ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)
           ประชาคมอาเซียนที่จะถือกำเนิดในปี 2558 นั้น คนไทยจะได้ประโยชน์อะไร แน่นอนเราคงอยากทราบ แต่ในชั้นนี้ขอจำกัดเฉพาะทางเศรษฐกิจก่อน
              ประการแรก ไทยจะ “มีหน้ามีตาและฐานะ” เด่นขึ้นประชาคมอาเซียนจะทำให้เศรษฐกิจ “ของเรา” มีมูลค่ารวมกัน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีขนาดใหญ่อันดับ 9 ของโลก ยังประโยชน์แก่คนไทยทุกคนที่จะได้ยืนอย่างสง่างาม “ยิ้มสยาม” จะคมชัดขึ้น
              ประการที่สอง การค้าระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนจะคล่องและขยายตัวมากขึ้น กำแพงภาษีจะลดลงจนเกือบจะหมดไป เพราะ 10 ตลาดกลายเป็นตลาดเดียว ผู้ผลิตจะส่งสินค้าไปขายในตลาดนี้และขยับขยายธุรกิจของตนง่ายขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกมากขึ้นราคาสินค้าจะถูกลง
              ประการที่สาม ตลาดของเราจะใหญ่ขึ้น แทนที่จะเป็นตลาดของคน 67 ล้านคน ก็จะกลายเป็นตลาดของคน 590 ล้านคน ซึ่งจะทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจ เพราะสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยสามารถส่งออกไปยังอีกเก้าประเทศได้ราวกับส่งไปขายต่างจังหวัด ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถแข่งขันกับจีนและอินเดียในการดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น
              ประการที่สี่ความเป็นประชาคมจะทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารคมนาคมระหว่างกันเพื่อประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน แต่ก็ยังผลพลอยได้ในแง่การไปมาหาสู่กัน ซึ่งก็จะช่วยให้คนในอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์กัน รู้จักกัน และสนิทแน่นแฟ้นกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสันติสุข ความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกันโดยรวม นับเป็นผลทางสร้างสรรค์ในหลายมิติด้วยกัน
              ประการที่ห้า โดยที่ ไทยตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางบนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่อาเซียน ประเทศไทยย่อมได้รับประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับจีน (และอินเดีย) มากยิ่งกว่าประเทศอื่นๆ
บริษัทด้านขนส่ง คลังสินค้า ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ จะได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน จริงอยู่ ประชาคมอาเซียนจะยังผลทั้งด้านบวกและลบต่อประเทศไทย ขึ้นอยู่กับพวกเราคนไทยจะเตรียมตัวอย่างไร แต่ผลทางบวกนั้นจะชัดเจน เป็นรูปธรรมและจับต้องได้

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จุดแข็ง
– การเมืองค่อนข้างมั่นคง
– รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
– ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน
ข้อควรรู้
– ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
– ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
– การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
– การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
– จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
– สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
– วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
– จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม 


2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
– มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
ข้อควรรู้
– ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
– เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
– ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
– ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
– สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ 


3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
– ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
– นิยมใช้มือกินข้าว
– ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
– ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
– การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
– บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
– มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
– งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้


4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
– การเมืองมีเสถียรภาพ
ข้อควรรู้
– ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
– ลาวขับรถทางขวา
– ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
– เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
– ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
– อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
– ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
– เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดืม
 

5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
– มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
– เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม


6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
จุดแข็ง
– มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
– ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
ข้อควรรู้
– ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
– เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
– ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
– ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
– ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
– ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก 


7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
ข้อควรรู้
– การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
– เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
– ใช้ปากชี้ของ
– กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
– ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส


8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
– แรงงานมีทักษะสูง
ข้อควรรู้
– หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
– การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
– การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
– ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
– ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
– ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ
 

9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
– เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
– คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
– ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
– ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
– คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
– ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
– ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว


10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จุดแข็ง
– เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
– มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
ข้อควรรู้
– ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
– ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
– สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
– ทักทายกันด้วยการไหว้
– ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
– ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม
– การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


ประวัติ RONALDO







ข้อมูลส่วนตัว ronaldo
ชื่อ : คริสเตียโน่ โรนัลโด้
ชื่อภาษาอังกฤษ : Cristiano Ronaldo
ชื่อเต็มภาษาโปรตุเกส : กริชเตียนู รูนัลดู ดูช ซังตูช อาไวรู Cristiano Ronaldo dos Santos Aveiro
วันเกิด : 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1985
สถานที่เกิด : ฟุงชาล, มาเดรา ประเทศโปรตุเกส
ส่วนสูง : 185 ซ.ม. (6 ฟุต 1 นิ้ว)
ตำแหน่ง : ปีก, กองหน้า
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน : เรอัล มาดริด
สโมสรเยาวชน : Andorinha,CD Nacional,Sporting CP
สโมสรอาชีพ
ปี 1999-2003 สปอร์ติง ลิสบอน 25 ยิงได้ 3 ประตู
ปี 2003-2009 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 196 ยิงได้ 84 ประตู
ปี 2009-ปัจจุบัน เรอัล มาดริด
ประวัติ : คริสเตียโน่ โรนัลโด้ Cristiano Ronaldo
คริสเตียโน่ โรนัลโด้ มีชื่อเต็มซึ่งอ่านเป็นภาษาโปรตุเกสว่า กริชเตียนู รูนัลดู ดูช ซังตูช อาไวรู (โปรตุเกส: Cristiano Ronaldo dos Santos Aveiro) เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวโปรตุเกส โดยปัจจุบันสังกัดสโมสรฟุตบอลเรอัล มาดริด สวมเสื้อหมายเลข 9 และย้ายไปด้วยค่าตัวที่เป็นสถิติโลก คือ 80 ล้านปอนด์ แต่ปัจจุบันโรนัลโด้ ได้เปลี่ยนมาสวมเสื้อหมายเลข 7 ตามความประสงค์ของตัวเขาที่เคยสวมเสื้อหมายเลข 7 ขณะอยู่กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
คริสเตียโน่ โรนัลโด้ เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ที่เกาะมาเดรา ประเทศโปรตุเกส เป็นบุตรชายของนายชูเซ ดีนิช อาไวรู (เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2548 ขณะมีอายุ 52 ปี) กับนางมาเรีย ดูโลริช อาไวรู เป็นบุตรชายคนเล็กในพี่น้อง 4 คน ถึงแม้ตอนเกิดเขาจะคลอดก่อนกำหนดแต่ก็มีน้ำหนักสมบูรณ์ถึง 8 ปอนด์
โดยที่มาของชื่อโรนัลโด้นั้น บิดาของเขาเป็นผู้ตั้งให้ โดยได้แรงบันดาลใจจากชื่อของ นายโรนัลด์ เรแกน อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบุคคลที่บิดาของโรนัลโด้ชื่นชอบตั้งแต่เรแกนยังเป็นนักแสดงอยู่
ครอบครัวของโรนัลโดอาศัยอยู่ที่ย่านกิงตาดูฟาลเซา เขตซังตูอังตอนีอูของเมืองฟุงชาล ซึ่งเป็นเขตที่มีประชากรยากจนอาศัยอยู่มาก โรนัลโด้เริ่มเล่นฟุตบอลที่นี่ ซึ่งในตอนเด็กเขาจะชอบเล่นฟุตบอลมาก บริเวณตามถนน พอตอนเขาอายุ 6 ขวบ เขาเริ่มต้นเล่นฟุตบอลอย่างจริงจังในทีมชุดใหญ่ของ ทีม Andorinha โดยการชักชวนของญาติเขาที่อยู่ในทีมนี้ พอถึงปี พ.ศ. 2538 โรนัลโด้ย้ายไปอยู่กับทีม Nacional โดยมีการจ่ายค่าตัวเป็นชุดฟุตบอลและลูกบอล
เมื่ออายุ 12 ปี โรนัลโด้ได้รับความสนใจจากสโมสรใหญ่ ๆ ของโปรตุเกสมากมาย โรนัลโด้เลือกค้าแข้งกับสปอร์ติง ลิสบอน ทีมโปรดของตัวเอง จนอายุ 17 ปี โรนัลโด้ได้ลงเล่นในทีมชุดใหญ่ของสปอร์ติงเป็นครั้งแรก แล้วก้าวไปติดทีมชาติโปรตุเกสชุดอายุต่ำกว่า 17 ปีในศึกชิงแชมป์ยุโรป
โรนัลโด้ มีจุดเด่นที่มีทักษะในการครองบอลและมีความคล่องตัวสูง ด้วยจุดนี้เอง ทำให้ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ได้สนใจที่จะนำโรนัลโด้ มาร่วมทีม และแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้คว้าตัวโรนัลโด้ไปร่วมทีมได้สำเร็จ ด้วยค่าตัว 12.5 ล้านปอนด์ ในฤดูกาล 2003-2004 โรนัลโด้ใช้เวลาไม่นานนักในการปรับตัวให้เข้ากับพรีเมียร์ลีก และผลงาน 8 ประตู จากการลงสนาม 39 นัด ซึ่งรวมถึงประตูแรกในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพกับมิลล์วอลล์ ก็ทำให้เขาได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (Sir Matt Busby Player of the Year) ประจำฤดูกาล 2003/04
เกียรติยศร่วมกับสโมสร
แชมป์ เอฟเอ คัพ ปี 2004
แชมป์ คาร์ลิ่ง ลีก คัพ ปี 2006
แชมป์ พรีเมียร์ชิพ ปี 2006 – 2007
แชมป์ พรีเมียร์ชิพ ปี 2007 – 2008
แชมป์ ยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก ปี 2008
แชมป์ สโมสรโลก ปี 2008
แชมป์ คาร์ลิ่ง ลีก คัพ ปี 2009
แชมป์ พรีเมียร์ชิพ ปี 2008 – 2009
เกียรติยศเฉพาะตัว
นักกีฬาดาวรุ่งยอดเยี่ยมของโปรตุเกส ปี 2002
รองแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ปี 2004
หนึ่งในสมาชิกทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของยูฟ่า ประจำปี 2004
ผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมของสมาพันธ์นักฟุตบอลอาชีพ ปี 2005
รางวัลผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยม และผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำปี 2007 ของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพอังกฤษ
รองเท้าทองคำ (ดาวซัลโวสูงสุด) ปี 2008
นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของฟิฟโปร ปี 2008
นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของฟีฟ่า ปี 2008
ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำปี 2008 ของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพอังกฤษ